บุคลากร
สวัสดิการต่างๆ
- สิทธิเกี่ยวกับการลาทุกประเภท
- สิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลา
- สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
- สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร
- สวัสดิการเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือบุตร
- สวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ยกันดาร
- สวัสดิการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
- เงินทำขวัญ กรณีได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วยจนพิการ เพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่
- เงินช่วยพิเศษ กรณีถึงแก่ความตาย
- บำเหน็จและบำนาญ กรณีพ้นจากราชการ
- กองทุน กบข. (ข้าราชการ)
- กองทุน กสจ. (ลูกจ้างประจำ)
- การลาป่วย
- การลาคลอดบุตร
- การลากิจส่วนตัว
- การลาพักผ่อน
- การลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์
- การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
- การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย
- การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
- การลาติดตามคู่สมรส
มหาวิทยาลัยได้จัดทำข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยกองทุนสวัสดิการ พ.ศ. 2553 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยกองทุนสวัสดิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 แทนระเบียบสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2548 และได้จัดทำประกาศคณะกรรมการสวัสดิการมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ 0001/2553 เรื่องหลักเกณฑ์การจ่ายเงินกองทุนสวัสดิการมหาวิทยาลัยบูรพา สรุปได้ดังนี้
- เงินสงเคราะห์บุคลากรของมหาวิทยาลัยบูรพาที่ประสบภัยพิบัติ เป็นภัยพิบัติที่ร้ายแรงต่อบ้านพักอาศัยอยู่จริงในปัจจุบัน และส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ในการดำรงชีวิต จ่ายครั้งละไม่เกินร้อยละ 5,000 บาท
- กรณีผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเสียชีวิตจ่ายได้ไม่เกินศพละ 10,000 บาท
- กรณีบิดา มารดา บุตร และคู่สมรส ของผู้ปฏิบัติงานเสียชีวิตจ่ายได้ไม่เกินศพละ 3,000 บาท
- ค่าพวงหรีดเคารพศพนามมหาวิทยาลัยบูรพาจ่ายไม่เกินศพละ 500 บาท
- กรณีนำบุคลากรไปร่วมงานศพ โดยใช้รถยนต์ของมหาวิทยาลัยจ่ายเป็น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเท่าที่จ่ายจริงศพละ 5,000 บาท และจ่ายได้ไม่เกิน 1 ครั้ง ส่วนค่าตอบแทน พนักงานขับรถยนต์จ่ายให้ไม่เกิน 300 บาทต่อวัน
- กรณีบุคลากรประสบอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงานในหน้าที่จ่ายได้ไม่เกิน 1,000 บาท โดยมีหนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชาว่าประสบอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงานจริง
- กรณีเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นคนไข้ในจ่ายเป็นค่ากระเช้าเยี่ยมไข้ ครั้งละไม่เกิน 500 บาท และไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี
- กรณีคลอดบุตรจ่ายเป็นค่าเยี่ยมแสดงความยินดีได้ครั้งละไม่เกิน 500 บาท
- บ้านพัก
- อาคารชุด
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (โครงการสวัสดิการไม่มีเงินฝาก)
- โครงการเงินกู้ธนาคารออมสิน
- โครงการเงินกู้ธนาคารกรุงไทย
- สวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค.
- สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำกัด
สิทธิผู้ที่ทำประกันสังคมจะได้รับสิทธิคุ้มครอง 8 กรณี ดังนี้
- กรณีเจ็บป่วย
- กรณีคลอดบุตร
- กรณีทุพพลภาพ
- กรณีสงเคราะห์บุตร
- กรณีชราภาพ
- กรณีว่างงาน
- กรณีทันตกรรม
- กรณีตาย

สิทธิสมาชิกสโมสรบุคลากร กรณีสมาชิกเข้าพิธีมงคลสมรส กรณีสมาชิกเข้าพิธีอุปสมบท กรณีสมาชิกเสียชีวิต กรณีบิดา มารดา คู่สมรส บุตร ของสมาชิกเสียชีวิต กรณีเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเกิน 5 วัน
มหาวิทยาลัยได้มีการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานมหาวิทยาลัยซึ่งจ้างด้วยเงินอุดหนุนรัฐบาล และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรกคุณากรณ์ เสนอให้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งบริจาคเงินให้มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมีการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยสายคณาจารย์ ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกในสาขาขาดแคลนโดยต้องไม่เป็นผู้รับทุนตามความต้องการของมหาวิทยาลัยบูรพา และสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ ที่มีคุณวุฒิในสาขาขาดแคลนตามประกาศของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมีการจ่ายเงินชดเชยให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้าง ที่ปฏิบัติงานหนึ่งปีขึ้นไป
- ความก้าวหน้าของสายคณาจารย์ สามารถขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. และสภามหาวิทยาลัยกำหนด
- ความก้าวหน้าของสายสนับสนุนวิชาการ สามารถขอกำหนดตำแหน่งเป็นชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญและเชี่ยวชาญพิเศษ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. และสภามหาวิทยาลัยกำหนด
มหาวิทยาลัยบูรพามีนโยบายการพัฒนาบุคลากรตามแผนยุทธ์ศาสตร์การพัฒนากำลังคน โดยการส่งเสริมให้บุคลากรมีคุณวุฒิการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น การฝึกอบรม และการศึกษาวิจัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยบูรพาได้ให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่บุคลากร โดยการจัดทำโครงการจัดสรรทุนอุดหนุนการศึกษาที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการที่รับผิดชอบของส่วนงานต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาการให้ทุนอุดหนุนการศึกษา โดยจำแนกตามประเภทการให้ ทุนได้ดังนี้
- ประเภททุนพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยบูรพา
- ประเภททุนพัฒนาบุคลากรของส่วนงาน
- ประเภททุนพัฒนาบุคคลทั่วไป
- การให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และคดีความทั่วไป
- จัดทำคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่พนักงานมหาวิทยาลัย ข้าราชการ และลูกจ้าง (กรณีไม่ได้ให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของอธิการบดี)
- จัดทำสัญญาของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย ที่ลาไปศึกษาหรือฝึกอบรมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และสัญญาค้ำประกัน
- จัดทำสัญญาของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไปในการรับทุนรัฐบาลและทุนเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาวิชาภายในประเทศและต่างประเทศ และสัญญาค้ำประกัน
- การดำเนินการเรียกผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยหรือผู้รับทุน กรณีผิดสัญญารับทุนหรือสัญญาลาศึกษาหรือฝึกอบรมฯ ชำระหนี้ตามข้อผูกพันในสัญญา
- ดำเนินการส่งเรื่องฟ้องคดี กรณีผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยหรือผู้รับทุนผิดสัญญารับทุนหรือสัญญาลาศึกษาหรือฝึกอบรมฯ ให้พนักงานอัยการดำเนินคดีตามข้อผูกพันในสัญญา
- ประสานงานกับพนักงานอัยการในกรณีที่มหาวิทยาลัยถูกฟ้องคดีปกครอง
- ประสานงานกับพนักงานอัยการเพื่อแก้ต่างในกรณีที่มหาวิทยาลัยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีเป็นจำเลย ทั้งทางแพ่งและทางอาญา