ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566

ชื่อปริญญา : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทย) (ศศ.ม. (ภาษาไทย))

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร : 36 count unit

ระยะเวลาการศึกษา : 2 year program

อาจารย์ประจำหลักสูตร :

ชื่อ-สกุล คุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ขจิตา ศรีพุ่ม *
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิตตาภา สารพัดนึก ไชยปัญญา * Ph.D. (Sanskrit)
Banaras Hindu University, India (2544)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฐา ค้ำชู * อ.ด. (ภาษาไทย)
มหาวิทยาลัยศิลปากร (2553)
อาจารย์ อภิรักษ์ ชัยปัญหา
หมายเหตุ : *อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

1 หมวดวิชาบังคับ

Course codes : 22851166
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยทางภาษาไทย

แนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยทางภาษาไทย และการสังเคราะห์งานวิจัยทางภาษาไทยที่ใช้เป็นแนวทางในการทำวิทยานิพนธ์

Course codes : 22851266
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยทางวรรณคดีไทย

แนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยทางวรรณคดีไทย และการสังเคราะห์งานวิจัยทางวรรณคดีไทยที่ใช้เป็นแนวทางในการทำวิทยานิพนธ์

Course codes : 22851366
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยทางคติชนวิทยา

แนวคิด ทฤษฎีทางคติชนวิทยา การฝึกปฏิบัติภาคสนาม และการสังเคราะห์งานวิจัย ทางคติชนวิทยาที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาคติชนและการทำวิทยานิพนธ์

Course codes : 22861166
Credit : 3(3-0-6)
ระเบียบวิธีวิจัยทางภาษาไทย

ระเบียบวิธีวิจัยทางภาษา วรรณกรรม และคติชนวิทยา การฝึกเขียนโครงการวิจัย

2 หมวดวิชาเลือก

Course codes : 22854166
Credit : 3(3-0-6)
ทฤษฎีภาษาศาสตร์

ทฤษฎีภาษาศาสตร์สำนักต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ต่าง ๆ กับการศึกษาภาษาไทย

Course codes : 22854266
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาภาษาศาสตร์เชิงสังคมและปรากฏการณ์ภาษาในสังคมไทยปัจจุบัน

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับสังคม การแปรภาษา การสัมผัสภาษา ภาวะหลายภาษา ชุมชนภาษา การปนและการสลับภาษา ปรากฏการณ์ของภาษาในชีวิตประจำวันของกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ในบริบทสังคมวัฒนธรรมไทย สาเหตุและลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางภาษา อิทธิพลของภาษาที่มีต่อบุคคลและสังคม

Course codes : 22854366
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาและวรรณกรรมไทย

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาบาลีและสันสกฤต ความแตกต่างระหว่างภาษาบาลีและ สันสกฤตเปรียบเทียบกับภาษาไทย ผลงานการศึกษาคำยืมภาษาบาลีและสันสกฤตที่ปรากฏในภาษาและวรรณกรรมไทย

Course codes : 22854466
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

ลักษณะเฉพาะของภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย การนำคำภาษาต่างประเทศมาใช้ ในภาษาไทยและอิทธิพลที่มีต่อภาษาไทย

Course codes : 22856166
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาวรรณคดีต่างสมัย

การวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และอภิปรายวรรณคดีสมัยต่าง ๆ วรรณคดีเรื่องเดียวกันหรือประเภทเดียวกันที่แต่งต่างสมัย และสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

Course codes : 22856266
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาวรรณกรรมท้องถิ่น

การวิเคราะห์ที่มา รูปแบบ เนื้อหา กลวิธีการประพันธ์ การใช้ภาษา แนวคิดและความสัมพันธ์กับสังคมของวรรณกรรมท้องถิ่น ทั้งประเภทมุขปาฐะและประเภทลายลักษณ์ เน้นการศึกษาวรรณกรรม บางท้องถิ่น รวมทั้งฝึกปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่น

Course codes : 22856366
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาวรรณกรรมร่วมสมัย

พัฒนาการของวรรณกรรมร่วมสมัย ประเภท องค์ประกอบ เปรียบเทียบและสังเคราะห์ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านเนื้อหา รูปแบบ แนวคิด กลวิธีการประพันธ์ และการใช้ภาษา ทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อใหม่ ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคม และวรรณกรรมแปลของต่างประเทศเป็นภาษาไทย

Course codes : 22856466
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาวรรณกรรมไทยกับวัฒนธรรมประชานิยม

นิยาม รูปแบบ ลักษณะสำคัญ และการแพร่กระจายของวรรณกรรมประชานิยม ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมและวัฒนธรรมประชานิยม ความเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมชั้นสูงและวัฒนธรรมประชานิยม และวัฒนธรรมย่อยในบริบทสังคม

Course codes : 22856566
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาการดัดแปลงวรรณกรรมไทยสู่สื่อแขนงอื่น

ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสื่ออื่น หลักการดัดแปลงวรรณกรรมสู่สื่อแขนงต่าง ๆ การศึกษาการดัดแปลงวรรณกรรมในฐานะสหบทและสหสื่อ

Course codes : 22864166
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาภาษากับวัฒนธรรม

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษา วัฒนธรรม โลกทัศน์ที่สะท้อนผ่านภาษา ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม ผลงานการศึกษาภาษาที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม

Course codes : 22864266
Credit : 3(3-0-6)
ภาษาไทยเพื่อการสอนในฐานะภาษาต่างประเทศ

แนวคิดพื้นฐานทางการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ลักษณะเฉพาะ ของภาษาไทย อักขรวิธีไทย ระบบเสียง ระบบคำ และโครงสร้างทางไวยากรณ์ การออกเสียงภาษาไทย การวิเคราะห์เปรียบเทียบภาษาของผู้เรียนกับภาษาไทย

Course codes : 22868166
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาภาษาและวรรณกรรมไทยในสื่อใหม่

นิยาม รูปแบบ ลักษณะการใช้ภาษาและการสร้างสรรค์วรรณกรรมในสื่อใหม่ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวรรณกรรมกับสื่อใหม่ สังเคราะห์และเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในด้านการใช้ภาษา เนื้อหา รูปแบบ องค์ประกอบ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง

Course codes : 22868266
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาภาคตะวันออกศึกษา

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษา วรรณกรรม คติชนกับสังคม ในฐานะที่เป็นเครื่องสะท้อนความคิด วิถีชีวิตและวัฒนธรรม บทบาทของภาษา วรรณกรรม และคติชนภาคตะวันออกที่มีต่อสังคมและการสร้างสรรค์สังคม ตลอดจนศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาคตะวันออกศึกษา

3 หมวดวิทยานิพนธ์

Course codes : 22869966
Credit : 12(0-0-36)
วิทยานิพนธ์

การกำหนดสิ่งที่ต้องการวิจัย การทบทวน การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์วรรณกรรม การประเมินความน่าเชื่อถือของวรรณกรรมที่ทบทวน การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย การกำหนดวิธีการวิจัย การเสนอเค้าโครงการวิจัย การดำเนินการวิจัย การประมวลผลและการวิเคราะห์ผล การสังเคราะห์ผล การวิจารณ์ผล การอ้างอิงผลงานของผู้อื่นและการเขียนเอกสารอ้างอิงตามระบบสากล การเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การเขียนรายงานการวิจัยเพื่อเผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ การเขียนบทคัดย่อ การเสนอรายงานการวิจัยด้วยปากเปล่า จริยธรรมการวิจัยและจรรยาบรรณนักวิจัย จริยธรรมในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ