ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564

ชื่อปริญญา : เศรษฐศาสตรบบัณฑิต (ศ.บ.)

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร : 129 count unit

ระยะเวลาการศึกษา : 4 year program

อาจารย์ประจำหลักสูตร :

ชื่อ-สกุล คุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
อาจารย์ ปัณฑา โกกอง *
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรรณิภา อนุรักษากรกุล *
รองศาสตราจารย์ ศศิวุฑฒิ์ วงษ์มณฑา *
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิริทัศน์ เขตตานุรักษ์ *
อาจารย์ ศิริวรรณ สมนึก *
หมายเหตุ : *อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

1.1 กลุ่มที่ 1 กลุ่มวิชาทักษะการใช้ชีวิตคุณภาพ

Course codes : 89510064
Credit : 3(2-2-5)
ภูมิบูรพา

รากเหง้าของมหาวิทยาลัยบูรพา ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคตะวันออกของประเทศไทย ค่านิยมของมหาวิทยาลัยบูรพา ความเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา รักษ์ทะเล การสร้าง การมีส่วนร่วม และการสืบสานจากรุ่นสู่รุ่น เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Course codes : 89510164
Credit : 2(1-2-3)
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

หลักการ แนวคิดของความพอเพียง การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวทางหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง โครงการตามแนวพระราชดำริ การประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินชีวิตประจำวัน การรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในสังคม

Course codes : 89510364
Credit : 2(1-2-3)
การบริหารสุขภาวะทางกาย

แนวคิดและวิธีปฏิบัติตนเพื่อสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี การยศาสตร์ การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร ยารักษาโรค การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง การวางแผนชีวิตครอบครัว

Course codes : 89510564
Credit : 2(1-2-3)
การบริหารสุขภาวะทางจิต

การสร้างความสามารถในการบริหารสุขภาวะทางจิตในการดำเนินชีวิตประจำวันและ การทำงาน การใช้หลักการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางจิต ทฤษฎีและหลักการทางจิตวิทยาเกี่ยวกับอารมณ์และ ความเครียด การเข้าใจและการประเมินสุขภาวะทางจิต การประเมินอารมณ์และความเครียด การนำกลยุทธ์ ทางจิตวิทยาและเทคนิคการจัดการความเครียดมาใช้เสริมสร้างสุขภาวะทางจิต

1.2 กลุ่มที่ 2 กลุ่มวิชาพลเมืองไทยและพลเมืองโลก

Course codes : 89520164
Credit : 2(1-2-3)
การพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบ

ความหมาย ความเป็นมา ความสำคัญ หลักการ แนวคิด และประเภทของการคิด นอกกรอบ การพัฒนาการคิดนอกกรอบอย่างเป็นระบบ เทคนิคการคิดนอกกรอบขั้นพื้นฐาน ขั้นก้าวหน้า และขั้นรอบรู้ การสร้างผลงานการคิดนอกกรอบ เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างผลงานการคิดนอกกรอบ งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการคิดนอกกรอบ การสร้างทีมเพื่อการคิดนอกกรอบ การคิดนอกกรอบในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันการนำเสนองาน

Course codes : 89520264
Credit : 2(1-2-3)
กระบวนการคิดเพื่อเข้าใจตนเองและผู้อื่น

การพัฒนาตนเองเพื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบเพื่อเข้าใจตนเองและผู้อื่นเน้นการให้คุณค่าการเรียนรู้ด้วยใจที่ใคร่ครวญ พัฒนามิติด้านในของมนุษย์สู่การพัฒนาศักยภาพที่สูงสุด ใช้การเรียนรู้ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายใน การรับฟังอย่างลึกซึ้ง สุนทรียสนทนาเพื่อให้ผู้เรียนมีความใฝ่เรียนฝึกตนเองอย่างต่อเนื่อง

Course codes : 89520464
Credit : 3(2-2-5)
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

ฝึกทักษะ ฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษ ศัพท์และโครงสร้างภาษา กลยุทธ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ เรียนรู้วัฒนธรรมโลก เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน

Course codes : 89520564
Credit : 3(2-2-5)
ภาษาอังกฤษระดับมหาวิทยาลัย

ฝึกทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ ฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษ ศัพท์และโครงสร้างภาษา ฝึกกลยุทธ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ ฝึกการคิดเชิงวิพากษ์และอภิปรายเชิงวิชาการ

Course codes : 89520764
Credit : 2(1-2-3)
การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

ภาษากับความคิดและเหตุผล บูรณาการทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ในสถานการณ์ทั้งในชีวิตประจำวันและในเชิงวิชาการ

1.3 กลุ่มที่ 3 กลุ่มวิชาที่เสริมสร้างสมรรถนะการทำงานในโลกอนาคต

Course codes : 89530064
Credit : 2(2-0-4)
โอกาสและความท้าทายในการทำงานในโลกอนาคต

นโยบายประเทศไทย 4.0 เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โมเดลการบูรณาการเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ทักษะแรงงานที่จำเป็นในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย การประเมินสมรรถนะตนเอง ตลาดแรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

Course codes : 89530164
Credit : 2(2-0-4)
ทักษะดิจิทัล

การสร้างและการเผยแพร่วิดีโอ รูปภาพ เพลง ข้อความ และข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในชีวิตประจำวัน ธุรกิจ และสังคม เทคโนโลยีอุบัติใหม่

Course codes : 89531064
Credit : 2(2-0-4)
ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสังคม

ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กระบวนการคิดเชิงออกแบบ การกำหนดปัญหา การระดมสมอง การสร้างแนวความคิดใหม่ และการแก้ปัญหาทางสังคม

Course codes : 89539764
Credit : 3(0-0-9)
การเป็นผู้ประกอบการในศตวรรษที่ 21

แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ ทักษะการเป็นผู้ประกอบการในศตวรรษที่ 21 อย่างมีจริยธรรมตามกฎหมายในการจัดตั้งบริษัทและกฎหมายธุรกิจทั่วไป รวมถึงการเขียนแผนธุรกิจ

2.1.1 วิชาคณิตศาสตร์และสถิติ

Course codes : 25727164
Credit : 3(3-0-6)
คณิตศาสตร์สำหรับนักเศรษฐศาสตร์

การนำเครื่องมือทางคณิตศาสตร์มาใช้ในทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์ดุลยภาพเชิง สถิต สถิตเปรียบเทียบ และพลวัตร ในระดับเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค

Course codes : 25727264
Credit : 3(3-0-6)
สถิติสำหรับนักเศรษฐศาสตร์

สถิติพรรณนาและแผนภาพทางสถิติจากข้อมูลเศรษฐกิจ ทฤษฎีความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่ม การแจกแจงความน่าจะเป็น ความแปรปรวนร่วม สหสัมพันธ์ การสุ่มตัวอย่าง การแจกแจงข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง การประมาณค่า ช่วงความเชื่อมั่น การทดสอบสมมติฐาน สมการถดถอยอย่างง่ายสถิติแบบไม่ใช่พารามิเตอร์

Course codes : 25727364
Credit : 2(2-0-4)
การจัดการข้อมูลเบื้องต้น

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ การจัดการข้อมูลด้านต่างๆ ทางธุรกิจ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา การใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางเศรษฐศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ การนำเสนอข้อมูลทางเศรษฐกิจ

Course codes : 25737464
Credit : 3(2-2-5)
เศรษฐมิติ 1

การวิเคราะห์สมการถดถอยอย่างง่าย การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ วิธีการประมาณค่า การอ้างอิงทางสถิติ การพยากรณ์ ปัญหาของการวิเคราะห์สมการถดถอย ปัญหาการระบุแบบจำลองผิดพลาด ปัญหาตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์เชิงเส้นซึ่งกันและกัน ปัญหาตัวรบกวนมีความสัมพันธ์กัน ปัญหาความแปรปรวนไม่คงที่ แบบจำลองที่มีตัวแปรเชิงคุณภาพ แบบจำลองสมการที่เกี่ยวเนื่องกัน แบบจำลองตัวเลือกทวิภาค แบบจำลองโลจิต โพรบิต

Course codes : 25747564
Credit : 3(2-2-5)
เศรษฐมิติ 2

แบบจำลองสมการหลายชั้น ปัญหาของแบบจำลองสมการหลายชั้น การวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลา การทดสอบระดับความนิ่งของข้อมูล ดุลยภาพระยะยาวของตัวแปร กลไกการปรับค่าความคลาดเคลื่อนระยะสั้นสู่ดุลยภาพในระยะยาว การพยากรณ์ข้อมูลโดยใช้ข้อมูลอนุกรมเวลา

Course codes : 30211764
Credit : 3(3-0-6)
แคลคูลัส

ฟังก์ชันและกราฟ ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน การหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิต และฟังก์ชันอดิสัย การประยุกต์ของอนุพันธ์ สมการของเส้นสัมผัส และเส้นตั้งฉาก อัตราสัมพัทธ์ การหาค่าสูงสุด–ต่ำสุดและการทดสอบ โจทย์ปัญหาค่าสูงสุด–ต่ำสุด ฟังก์ชันรายได้–รายจ่าย และฟังก์ชันกำไร อินทิกรัลไม่จำกัดเขต และการประยุกต์การอินทิเกรตฟังก์ชันพื้นฐาน การอินทิเกรตทีละส่วน อินทิเกรตจำกัดเขต และทฤษฎีพื้นฐานของแคลคูลัสการประยุกต์ของอินทิกรัลจำกัดเขต การหาพื้นที่ ค่าเฉลี่ยของฟังก์ชัน ความน่าจะเป็น ฟังก์ชันของหลายตัวแปรและการหาอนุพันธ์

Course codes : 31210264
Credit : 3(3-0-6)
สถิติพื้นฐานสำหรับเศรษฐศาสตร์

ความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่ม การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มวิยุตและตัวแปร สุ่มต่อเนื่อง การแจกแจงของตัวอย่าง การประมาณค่า การทดสอบสมมุติฐานสำหรับประชากรหนึ่งกลุ่ม สองกลุ่ม และหลายกลุ่มด้วยวิธีอิงพารามิเตอร์และไม่อิงพารามิเตอร์

2.1.2 วิชาเศรษฐศาสตร์

Course codes : 25711164
Credit : 3(3-0-6)
เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1

อุปสงค์และอุปทาน กลไกราคาและการทำงานของกลไกราคาในการจัดสรรทรัพยากร ทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค พฤติกรรมการผลิตและต้นทุนการผลิต โครงสร้างตลาด การกำหนดราคาสินค้าและปัจจัยการผลิตภายใต้โครงสร้างตลาดแข่งขันสมบูรณ์และตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์

Course codes : 25711264
Credit : 3(3-0-6)
เศรษฐศาสตร์มหภาค 1

การวัดตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคสำคัญ เป้าหมายทางเศรษฐกิจมหภาค รายได้ประชาชาติ การกำหนดรายได้ประชาชาติ อุปสงค์รวมและอุปทานรวม การเงินและการธนาคาร การคลังสาธารณะ นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง การจ้างงาน เงินเฟ้อ การค้าระหว่างประเทศ ตลาดเงินตราต่างประเทศ และดุลการชำระเงิน

Course codes : 25721364
Credit : 4(4-0-8)
เศรษฐศาสตร์จุลภาค 2

ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค วิเคราะห์ทฤษฎีเส้นความพอใจเท่ากัน การบริโภคข้าม เวลา ทฤษฎีการผลิตและต้นทุนการผลิต การกำหนดราคาสินค้าและราคาปัจจัยการผลิตในตลาดประเภทต่างๆ ดุลยภาพทั่วไป สวัสดิการเบื้องต้น และความล้มเหลวของตลาด

Course codes : 25721464
Credit : 4(4-0-8)
เศรษฐศาสตร์มหภาค 2

แบบจำลองดุลยภาพในตลาดเงิน ตลาดผลผลิต ตลาดแรงงานและตลาดเงินตราต่างประเทศแบบจำลองอุปสงค์มวลรวมและอุปทานมวลรวมในระบบเศรษฐกิจแบบปิด และแบบเปิด ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของสำนักคลาสสิก เคนส์และสำนักอื่นๆ ทฤษฎีการบริโภคและทฤษฎีการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์มหภาค ทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานเงินตรา

Course codes : 25722164
Credit : 3(3-0-6)
เศรษฐศาสตร์เกษตร

ความหมาย ความสำคัญ ความสัมพันธ์ ขอบเขตของเศรษฐศาสตร์เกษตร ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การผลิต การตลาด ราคาผลผลิต ธนกิจเกษตร ธุรกิจการเกษตร การค้าระหว่างประเทศ นโยบายการเกษตร ปัญหาต่างๆ ทางการเกษตร และการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน

Course codes : 25725164
Credit : 3(3-0-6)
การพัฒนาเศรษฐกิจ

ความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กระบวนการการวางแผนและรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

Course codes : 25733164
Credit : 3(3-0-6)
เศรษฐศาสตร์การเงินและการธนาคาร

การเงินและบทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ มาตรฐานเงิน เครดิต ระบบธนาคาร พาณิชย์ การบริหารความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ บทบาทของธนาคารกลาง ปริมาณเงินและความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินกับภาวะเศรษฐกิจ นโยบายการเงินและการใช้นโยบายการเงินเพื่อปรับภาวะเศรษฐกิจ

Course codes : 25734164
Credit : 3(3-0-6)
เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม

ความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมในระบบเศรษฐกิจ โครงสร้าง พฤติกรรมและผลการดำเนินงานของตลาด การตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนผลิต แหล่งที่ตั้ง การพัฒนาอุตสาหกรรม บทบาทและนโยบายของรัฐที่มีต่อภาคอุตสาหกรรม และผลของการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศ

Course codes : 25736164
Credit : 3(3-0-6)
การคลังรัฐบาล

บทบาทหน้าที่ในทางเศรษฐกิจของรัฐบาล ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์สาธารณะ ผลกระทบภายนอก รายจ่ายรัฐบาล สินค้าสาธารณะ ทฤษฎีการลงทุนภาครัฐ รายรับรัฐบาล การจัดเก็บภาษี หนี้สาธารณะ ผลกระทบของนโยบายการคลัง ระบบประกันสังคม

Course codes : 25741864
Credit : 3(3-0-6)
สัมมนาทางเศรษฐศาสตร์

สัมมนาและวิจัยในหัวข้อเศรษฐศาสตร์ ภายใต้การควบคุมและแนะนำจากผู้สอน

Course codes : 25744264
Credit : 3(3-0-6)
การวิเคราะห์โครงการ

วงจรชีวิตของโครงการ การระบุโครงการ การวางแผนโครงการ รูปแบบโครงการ การวิเคราะห์ผลกระทบของโครงการ การคำนวณราคาเงา การคำนวณผลตอบแทนโครงการภายใต้ความเสี่ยง หลักเกณฑ์ในการประเมินโครงการ อัตราคิดลดเชิงสังคม

Course codes : 25745464
Credit : 3(3-0-6)
เศรษฐกิจประเทศไทย

โครงสร้างและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 ความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศไทย แนวทางแก้ไขและพัฒนาในประเด็นต่าง ๆ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ภาวะความยากจน และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ

Course codes : 25747664
Credit : 3(3-0-6)
วิธีวิจัยทางเศรษฐศาสตร์

แนวคิดวิธีวิทยาการ การออกแบบงานวิจัย การทบทวนวรรณกรรม กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี การพิจารณาข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การทดสอบสมมติฐาน การประยุกต์เครื่องมือทางสถิติและเศรษฐมิติ การเขียนรายงาน การนำเสนอผลงาน

Course codes : 25748164
Credit : 3(3-0-6)
เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

ความหมาย ความสำคัญ และขอบเขตของเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ นโยบายการค้าระหว่างประเทศ ทั้งการค้าแบบเสรีและการจำกัดทางการค้า การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ดุลการค้า และดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

2.1.3 วิชาอื่นๆ

Course codes : 66411164
Credit : 3(3-0-6)
การบัญชีการเงิน

หลักการเบื้องต้นของการบัญชี ทฤษฎี แนวคิด หลักการ กระบวนการเกี่ยวกับการบัญชี การจัดทำรายงานทางการเงินของหน่วยงานธุรกิจ งบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น งบกระแสเงินสด หมายเหตุประกอบงบการเงิน การวิเคราะห์และทำความเข้าใจถึงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน กระแสเงินสดของธุรกิจ การประยุกต์โปรแกรมตารางคำนวณอิเลคโทรนิกส์ในการจัดทำและวิเคราะห์รายงานทางการเงิน

Course codes : 67810364
Credit : 3(3-0-6)
กฎหมายธุรกิจ

หลักพื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย หลักทั่วไปของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ เกี่ยวกับบุคคล นิติกรรม สัญญา และหนี้ หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งองค์การธุรกิจและการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ เอกเทศสัญญา

2.2.1 เศรษฐศาสตร์การเงิน

Course codes : 25733264
Credit : 3(3-0-6)
ทฤษฎีและนโยบายการเงิน

ทฤษฎีอุปสงค์สำหรับเงินของนักเศรษฐศาสตร์ยุคต่างๆ ทฤษฎีอุปทานของเงินและ ฐานเงิน บทบาทของธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์ต่อตัวแปรทางการเงิน กลไกการถ่ายทอดทางการเงิน นโยบายการเงินกับเสถียรภาพภายใน และภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด นโยบายการเงินกับเสถียรภาพภายนอกและดุลการชำระเงิน

Course codes : 25733364
Credit : 3(3-0-6)
ตลาดการเงินและสถาบันการเงิน

ภาพรวมของตลาดการเงินและสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ ทฤษฎีอัตราดอกเบี้ย ตลาดหลักทรัพย์ ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ การวิเคราะห์หุ้นสามัญทางเทคนิคขั้นพื้นฐาน ตราสารการลงทุนต่างๆ ธนาคารพาณิชย์ บทบาทของสถาบันการเงินต่างๆ ในการระดมทุนและการใช้เงินทุน การกำกับดูแลสถาบันการเงิน

Course codes : 25733464
Credit : 3(3-0-6)
การลงทุนและการวิเคราะห์หลักทรัพย์

ประเภทของหลักทรัพย์ ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ ดุลยภาพของราคาตราสารหนี้และตราสารทุน โครงสร้างและรูปแบบของตลาดทุน การบริหารจัดการพอร์ตการลงทุน การจัดสรรงบประมาณการลงทุน ตัวแบบในการคัดเลือกหลักทรัพย์ การกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน ประสิทธิภาพของตลาดทุน

Course codes : 25743564
Credit : 3(3-0-6)
เศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศ

ระบบการเงินระหว่างประเทศ ความหมายของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ทฤษฎีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดเงินตราต่างประเทศ ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ ตลอดจนกลไกการปรับตัวอัตโนมัติทั้งทางด้านราคา และทางด้านรายได้

Course codes : 25743664
Credit : 3(3-0-6)
การวิเคราะห์เชิงปริมาณสำหรับเศรษฐศาสตร์การเงิน

วิธีการทางคณิตศาสตร์ที่มีบทบาทต่อทฤษฎีการเงิน พิจารณาถึงวิธีการคำนวณปริมาณเงิน วิเคราะห์ตัวแปรทางการเงิน มาตรการทางการเงิน และผลของมาตรการทางการเงินโดยวิธีการทางคณิตศาสตร์ แนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์การเงินที่สำคัญ

Course codes : 25743764
Credit : 3(3-0-6)
การลงทุนและการวิเคราะห์ตราสารอนุพันธ์

ตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน ตลาดซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์ส ทฤษฎีการกำหนดราคาสัญญาฟิวเจอร์ส การป้องกันความเสี่ยงโดยใช้สัญญาฟิวเจอร์ส สัญญาสวอป สัญญาออปชั่นและตลาดซื้อขายสัญญาออปชั่น กลยุทธการลงทุนโดยใช้ตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน

Course codes : 25743864
Credit : 3(3-0-6)
การวางแผนการเงินส่วนบุคคล

ความสำคัญ ขอบเขต และกระบวนการวางแผนการเงินส่วนบุคคล การบริหารรายได้และรายจ่ายของบุคคล การวางแผนภาษี การบริหารความเสี่ยง และการประกันความมั่นคงส่วนบุคคล การวางแผนการออมและการลงทุน การวางแผนในวัยเกษียณ

2.2.2 เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

Course codes : 25739164
Credit : 3(3-0-6)
เศรษฐศาสตร์การจัดการ

เครื่องมือการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ การวิเคราะห์อุปสงค์ การประมาณและการพยากรณ์อุปสงค์ การวิเคราะห์การผลิต ต้นทุนและกำไรในการผลิต โครงสร้างตลาดแบบต่างๆ การกำหนดราคา ตลอดจนการตัดสินใจในการลงทุนและการวิเคราะห์ความเสี่ยง

Course codes : 25739264
Credit : 3(3-0-6)
การเงินธุรกิจ

ความหมายและขอบเขตการเงินธุรกิจ การจัดหาเงินทุนและการใช้เงินทุน แหล่งทุนภายในและภายนอก เงินทุนระยะยาวและระยะสั้น การจัดการการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุดและความอยู่รอดของธุรกิจ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและสภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจ

Course codes : 25739364
Credit : 3(3-0-6)
เศรษฐศาสตร์การขนส่ง

รูปแบบต่างๆ ของการขนส่ง อุปสงค์ อุปทาน การกำหนดราคา ต้นทุนและผลกระทบของการขนส่ง ความสัมพันธ์ระหว่างการขนส่งและการผลิต หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับโลจิสติกส์

Course codes : 25739464
Credit : 3(3-0-6)
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

การตัดสินใจรายบุคคล การประยุกต์ใช้เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมในทฤษฎีเกมส์และทฤษฎีตลาด การเงินพฤติกรรม และการประยุกต์ใช้เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมการกำหนดการกำหนด กลยุทธทางธุรกิจและนโยบายรัฐบาล

Course codes : 25749564
Credit : 3(3-0-6)
เศรษฐศาสตร์แรงงานและทรัพยากรมนุษย์

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แรงงาน อุปทาน อุปสงค์ และดุลยภาพในตลาดแรงงาน ทฤษฎีทุนมนุษย์ การกำหนดค่าจ้างและผลิตภาพแรงงาน การเคลื่อนย้ายแรงงาน สหภาพแรงงาน บทบาทของรัฐในตลาดแรงงาน และประเด็นปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับตลาดแรงงาน เช่น ปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ในตลาดแรงงาน

Course codes : 25749664
Credit : 3(3-0-6)
การภาษีอากร

หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรที่บังคับใช้ในปัจจุบัน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต ภาษีที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บและภาษีอื่นๆ ผลกระทบของการจัดเก็บภาษีที่มีต่อการกระจายรายได้และการจัดสรรทรัพยากร

Course codes : 25749764
Credit : 3(3-0-6)
ทฤษฎีเกม

แนวคิด หลักการเกี่ยวกับทฤษฎีเกม เกมกลยุทธ์ดุลยภาพแบบแนช ดุลยภาพแบบกลยุทธ์ผสม เกมที่มีการต่อขยาย ดุลยภาพแบบสมบูรณ์ทุกเกมย่อย เกมเบย์ และเกมที่มีการต่อขยายภายใต้สภาวการณ์ที่มีการต่อขยายภายใต้สภาวการณ์ที่สารสนเทศไม่สมบูรณ์ บทประยุกต์ทฤษฎีเกม

Course codes : 25749864
Credit : 3(3-0-6)
เศรษฐศาสตร์การตลาด

แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์และการประยุกต์ บทบาทของอุปสงค์และอุปทานต่อการเปลี่ยนแปลงราคา การเคลื่อนไหวของราคา ต้นทุนและส่วนเหลื่อมการตลาด ทฤษฎีตลาด การวิเคราะห์โครงสร้างตลาด ทฤษฎีการตั้งราคา บทบาทของเศรษฐศาสตร์ในการตัดสินใจทางการตลาด ความหมายและหลักการตลาด แนวความคิดทางการตลาด หน้าที่ทางการตลาด การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด การวางแผนการตลาด กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด การควบคุมกิจกรรมทางการตลาด การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ สถาบันการตลาด บทบาทของรัฐบาลและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการตลาดและราคา

Course codes : 25749964
Credit : 3(3-0-6)
การบริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บทบาทและความสำคัญของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การวิเคราะห์โอกาสทางธุรกิจ การวางแผนและการบริหารจัดการด้านการลงทุน การจัดองค์กร การผลิต การตลาด การบัญชีและการเงิน การจัดการความเสี่ยง จริยธรรมทางธุรกิจนโยบายและการส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของภาครัฐ

2.2.3 เศรษฐศาสตร์เลือก

Course codes : 25735264
Credit : 3(3-0-6)
เศรษฐศาสตร์เชิงวัฒนธรรม

ลักษณะของสินค้าและบริการเชิงวัฒนธรรม การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม โครงสร้าง ตลาดและตลาดปัจจัยการผลิต การประเมินคุณค่าโดยวิธีการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายภาครัฐบาลในการอนุรักษ์วัฒนธรรม และการเชื่อมโยงกับการพัฒนาประเทศ

Course codes : 25735364
Credit : 3(3-0-6)
การสหกรณ์

ความหมายของสหกรณ์ ประวัติความเป็นมาของสหกรณ์ หลักสหกรณ์และวิธีการสหกรณ์ ประเภทของสหกรณ์ กำเนิดและวิวัฒนาการของสหกรณ์ในประเทศไทย การส่งเสริมสหกรณ์ ปัญหาและอุปสรรคของสหกรณ์

Course codes : 25738264
Credit : 3(3-0-6)
เศรษฐกิจอาเซียน

ระบบเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ความเหมือนและความแตกต่างของทรัพยากรทาง เศรษฐกิจ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาเซียนกับประเทศหรือกลุ่มเศรษฐกิจอื่นภายนอกอาเซียน

Course codes : 25741564
Credit : 3(3-0-6)
เศรษฐศาสตร์สุขภาพ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์สุขภาพ มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของชีวิตและ สุขภาพ อุปสงค์และอุปทานต่อการบริการด้านสุขภาพ ฟังก์ชันการสร้างเสริมสุขภาพ กลไกราคาของตลาดสุขภาพ ภาวะความล้มเหลวของตลาดในเรื่องสาธารณสุข การเลือกประกันสุขภาพที่พึงประสงค์ การกำกับระบบสาธารณะสุขตามทัศนะของนักเศรษฐศาสตร์

Course codes : 25744364
Credit : 3(3-0-6)
เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม

การประยุกต์ใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคในการจัดการสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ นโยบายสิ่งแวดล้อม นโยบายควบคุมมลพิษ วิธีการประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อม

Course codes : 25744464
Credit : 3(3-0-6)
เศรษฐศาสตร์ดิจิทัล

อิทธิพลของ big data และ เศรษฐกิจดิจิทัลที่มีต่อตลาด สังคมและองค์กรต่างๆ ทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ดิจิทัล รวมทั้งผลกระทบด้านเครือข่าย แบบจำลองการสร้างมูลค่า แบบจำลองธุรกิจดิจิทัล และการสร้างแบบจำลองตลาด ผลกระทบของคริปโตเคอร์เรนซี่ต่อธุรกิจโลก

2.3 วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

Course codes : 25731764
Credit : 2(1-2-3)
การเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงาน

หลักการ แนวคิด และกระบวนการของสหกิจศึกษา หรือการฝึกงานในต่างประเทศ ความรู้พื้นฐานและเทคนิคในการสมัครงานและปฏิบัติงาน ทักษะการสื่อสาร ทักษะการวางแผน ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและการตัดสินใจ การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม การทำงานเป็นทีม บุคลิกภาพและมารยาท การจัดการอารมณ์และความเครียด จริยธรรมในการปฏิบัติงานและจรรณยาบรรณในวิชาชีพ

Course codes : 25731864
Credit : 6(0-18-9)
สหกิจศึกษา

การปฏิบัติงานในสถานที่ปฏิบัติงานเสมือนเป็นพนักงานชั่วคราวเต็มเวลาของสถานที่ปฏิบัติงาน ในตำแหน่งตามที่สอดคล้องกับสาขาที่เรียนและเหมาะสมกับความรู้ความสามารถของนิสิตโดยได้รับการอนุมัติจากภาควิชา เพื่อเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีกับการปฏิบัติงาน ทำให้นิสิตได้รับประสบการณ์จริงจากการปฏิบัติงาน เกิดการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีความพร้อมในการทำงาน และสามารถทำงานได้ทันทีหลังสำเร็จการศึกษา

1 หมวดวิชาเลือกเสรี

Course codes : 25710264
Credit : 2(2-0-4)
เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

แนวคิดและหลักการเบื้องต้นในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสังคมทั้งทางจุลภาคและมหภาค อุปสงค์ อุปทาน การผลิตและต้นทุนการผลิต รายได้ประชาชาติ การเงินและการธนาคาร เงินเฟ้อ เงินฝืด การคลังรัฐบาล การค้าระหว่างประเทศ การนำแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์กับชีวิตประจำวันในด้าน ต่าง ๆ ของมนุษย์

Course codes : 25721564
Credit : 3(3-0-6)
หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค

การกำหนดราคาโดยอุปสงค์และอุปทาน ทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ทฤษฎีการผลิต ต้นทุนการผลิต และดุลยภาพของผู้ผลิตในตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์

Course codes : 25721664
Credit : 3(3-0-6)
หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค

หลักทั่วไปของเศรษฐศาสตร์ที่ว่าด้วยรายได้ประชาชาติ อิทธิพลของรายจ่ายมวลรวมภายในประเทศและระหว่างประเทศต่อรายได้ประชาชาติ ผลผลิตและการจ้างงานมวลรวม ภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืด การเจริญเติบโตและความผันผวนทางเศรษฐกิจ ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการกำหนดรายได้ประชาชาติ และการแก้ปัญหาการไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

Course codes : 25727764
Credit : 3(3-0-6)
เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

การจัดเตรียมข้อมูลและการสังเคราะห์ข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นด้วยวิธีการทางเศรษฐมิติ การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นโดยใช้ข้อมูลภาคตัดขวาง การวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติกส์ วิธีการพยากรณ์ทางด้านเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ การวิเคราะห์ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านธุรกิจและเศรษฐศาสตร์

Course codes : 25729064
Credit : 3(3-0-6)
การเป็นผู้ประกอบการในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์

ความหมายของการเป็นผู้ประกอบการ, ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับผู้ประกอบการ วัฏจักรของโครงการธุรกิจ การวางแผนทางธุรกิจ การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของธุรกิจ การประเมินความคุ้มค่าทางธุรกิจ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจ การประเมินผลกระทบทางธุรกิจที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

Course codes : 25731664
Credit : 3(3-0-6)
การวิเคราะห์กฎหมายด้วยหลักเศรษฐศาสตร์

หลักนิติรัฐและกระบวนการยุติธรรม ต้นทุนในการใช้กฎหมาย การบังคับกฎหมายใน ระดับที่เหมาะสม ทฤษฎีความน่าจะเป็นในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด การเลือกตัดสินใจเป็นอาชญากร การประเมินมูลค่าที่แท้จริงของค่าปรับและระยะเวลาจองจำที่เหมาะสม การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ในการดำเนินคดีความ สวัสดิการของสังคมในการบังคับใช้กฎหมาย

Course codes : 25737864
Credit : 3(3-0-6)
เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ขั้นสูง

การสร้างแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ การเลือกแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ที่เหมาะสม การจัดการข้อมูลอนุกรมเวลา การวิเคราะห์และพยากรณ์ทางเศรษฐกิจด้วยข้อมูลอนุกรมเวลา การจัดเตรียมข้อมูลอนุกรมเวลาและภาคตัดขวาง การวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลาและภาคตัดขวาง การวิเคราะห์ความเป็นพลวัตของข้อมูลอนุกรมเวลาและภาคตัดขวาง การวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลาและภาคตัดขวางโดยใช้วิธีด้านอนุกรมเวลา