ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565

ชื่อปริญญา : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ไทยศึกษา) (ปร.ด. (ไทยศึกษา))

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร : 36 count unit

ระยะเวลาการศึกษา : 3 year program

อาจารย์ประจำหลักสูตร :

ชื่อ-สกุล คุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เทพพร มังธานี *
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนิต โตอดิเทพย์ *
รองศาสตราจารย์ มนตรี วิวาห์สุข *
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยณรงค์ ศรีมันตะ
รองศาสตราจารย์ ทรงยศ บัวเผื่อน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุญรอด บุญเกิด
อาจารย์ สกุล อ้นมา
รองศาสตราจารย์ สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์
หมายเหตุ : *อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

1 หมวดวิชาปรับพื้นฐาน (2 รายวิชา โดยไม่นับหน่วยกิต)

Course codes : 26972165
Credit : 3(3-0-6)
ไทยศึกษาบูรณาการ

การวิเคราะห์และการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับไทยศึกษาและไทยภูมิภาคศึกษา วิธีการศึกษาและเนื้อหาด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ภาษา ศิลปะ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ศาสนาและประเพณี การประยุกต์วิธีวิทยาในไทยศึกษา องค์ความรู้ใหม่ในไทยศึกษา

Course codes : 26975165
Credit : 3(3-0-6)
ไทยตะวันออกศึกษา

พัฒนาการของภาคตะวันออกด้านกายภาพ ประชากร การตั้งถิ่นฐาน การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมสังคมในภาคตะวันออก การเปลี่ยนแปลงของชุมชนด้านการเมือง เศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมจากส่วนกลางต่อภูมิภาคตะวันออก บทบาทของภูมิภาคตะวันออกกับการพัฒนาสังคม องค์ความรู้ใหม่ในไทยศึกษาตะวันออก

2 หมวดวิชาบังคับ

Course codes : 26971165
Credit : 3(2-2-5)
ปฏิบัติการวิจัยไทยศึกษา

ปฏิบัติการวิจัยไทยศึกษาตามขั้นตอนและกระบวนการวิจัยทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพตั้งแต่เทคนิคการเลือกประเด็น วิธีการกำหนดวัตถุประสงค์ และขอบเขตของการวิจัย การสำรวจวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องการกำหนดกรอบการศึกษา การตั้งสมมุติฐานการออกแบบการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการและเทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานและการนำเสนอผลการวิจัย

Course codes : 26971265
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาการพัฒนาเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์

การแลกเปลี่ยนทัศนะ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเขียนดุษฎีนิพนธ์และฝึกปฏิบัติการเขียนเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์

Course codes : 26972265
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาพรมแดนองค์ความรู้ไทยศึกษา

สถานภาพของพรมแดนองค์ความรู้ด้านไทยศึกษา การศึกษาองค์ความรู้ด้านไทยศึกษาของนักวิชาการสาขาต่างๆ ชุดความรู้ด้านไทยศึกษาจากงานเขียนของนักวิชาการสาขาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ การสร้างแนวคิดและวิธีการเรียนรู้ใหม่ด้านไทยศึกษา

3 หมวดวิชาสัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 1-3 (ไม่นับหน่วยกิต)

Course codes : 26981365
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 1

หลักการสังเคราะห์งานวิจัย การพัฒนาหัวข้อปัญหาวิจัยจากผลการสังเคราะห์งานวิจัย การค้นหาและการประเมินวรรณกรรมที่สนับสนุนปัญหาวิจัย การบรรยายผลการวิเคราะห์ทางสถิติและการเชื่อมโยงกับปัญหาวิจัย

Course codes : 26981465
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 2

การกำหนดกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีและพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยสำหรับหัวข้อเรื่องที่สนใจ การทบทวนและวิเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ขั้นตอนการวิจัยสำหรับหัวข้องานวิจัย

Course codes : 26981565
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 3

อภิปรายความถูกต้องของเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ การอภิปรายถกเถียงเรื่องความเหมาะสมของแบบวิจัยที่เลือกใช้อย่างละเอียดลึกซึ้ง ฝึกการเขียนบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษสำหรับตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ นำเสนอเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ของตนต่อที่ประชุมสัมมนา

4 หมวดวิชาประเด็นเฉพาะทางไทยศึกษา (ไม่นับหน่วยกิต)

Course codes : 26982365
Credit : 3(2-2-5)
ประเด็นเฉพาะทางไทยศึกษา

ประเด็นเฉพาะทางด้านสังคมศาสตร์ ศึกษาประเด็นเฉพาะทางด้านมนุษยศาสตร์ ประเด็นเฉพาะทางด้านวัฒนธรรม ประเด็นเฉพาะทางด้านศาสนาและปรัชญา ประเด็นเฉพาะในสถานการณ์ร่วมสมัย

5 หมวดวิชาเลือก

Course codes : 26972365
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาสังคมวิทยา มานุษยวิทยาในไทยศึกษา

เศรษฐกิจและวัฒนธรรมชุมชนไทย ชุมชนจินตนาการ ความเปลี่ยนแปลงของชุมชนไทย ขบวนการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน การศึกษากลุ่มคนชายขอบในสังคมไทย การต่อสู้ของผู้อ่อนแอ แนวคิดร่วมสมัย

Course codes : 26974165
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาผู้นำทางจิตตปัญญาชาวไทย

แนวคิดและทฤษฎีด้านจิตตปัญญาศึกษา นักบวชและฆราวาสผู้นำทางจิตปัญญาชาวไทย สุนทรียวิปัสสนาสนทนา หลักการ วิธีการ ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบต่อสังคมและวัฒนธรรมไทยและโลก ข้อวิพากษ์วิจารณ์ ความพลิกผลัน การประยุกต์ และความท้าทายในปัจจุบัน แนวโน้มในอนาคต

Course codes : 26974265
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาโลกทัศน์ไทยจากวรรณกรรมท้องถิ่นความเชื่อ ศาสนาและปรัชญา

ความหมายและความสำคัญของโลกทัศน์ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับโลกทัศน์ โลกทัศน์จากวรรณกรรมท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคต่าง ๆ ของไทย โลกทัศน์จากคติความเชื่อ โลกทัศน์จากศาสนาและปรัชญา การรับและปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ของคนไทย พลวัตของโลกทัศน์ในสังคมไทย

Course codes : 26974365
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาปัญหาจริยศาสตร์ในไทยศึกษา

ความหมายและความสำคัญของปัญหาจริยศาสตร์ในไทยศึกษา ทฤษฎีทางจริยปรัชญา การอ้างเหตุผลทางจริยธรรม ปัญหาเกี่ยวกับสถานภาพของคุณค่าทางศีลธรรม ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดในชีวิต ปัญหาเกี่ยวกับชีวิตที่ดี ปัญหาเกี่ยวกับเกณฑ์ตัดสินจริยธรรม ปัญหาจริยธรรมในสังคมไทย การประยุกต์ทฤษฎีทางจริยศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาจริยธรรมในสังคมไทย

Course codes : 26975265
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนานวัตกรรมการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางไทยศึกษา

การประยุกต์แนวคิด กระบวนการ และเทคโนโลยีใหม่สำหรับการวิจัยไทยศึกษา ประเด็นการวิจัยร่วมสมัย การสร้างข้อสรุปเชิงมโนทัศน์ การตั้งประเด็นปัญหา จริยธรรมการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และสังเคราะห์เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางไทยศึกษา

Course codes : 26975365
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาภูมิปัญญาในศิลปะ ประเพณี และวิถีชีวิตไทย

ความหมายและคุณค่าของภูมิปัญญา แนวคิดเกี่ยวกับภูมิปัญญา ภูมิปัญญาไทยในศิลปะแขนงต่าง ๆ ภูมิปัญญาไทยในประเพณีและพิธีกรรม ภูมิปัญญาในวิถีชีวิตไทย การอนุรักษ์และพัฒนามูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านภูมิปัญญาไทย

Course codes : 26975465
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาความพลิกผันทางวัฒนธรรมไทยและโลก

แนวคิดว่าด้วยความพลิกผันทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยี ผู้สร้างความพลิกผันในบริบทท้องถิ่นและบริบทโลก วัฒนธรรมมวลชนและวัฒนธรรมประชานิยมในบริบทที่พลิกผัน วัฒนธรรมต่อต้านและความพลิกผันในวัฒนธรรมไทยและโลก วิกฤต โอกาส และความท้าทายทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ

Course codes : 26976165
Credit : 3(2-2-5)
สัมมนาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ สังคม การเมืองไทย

แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม เศรษฐกิจสังคมไทยก่อนการปฏิรูประบบราชการเศรษฐกิจสังคมไทยหลังปฏิรูประบบราชการ สังคมการเมืองไทยใน 2475 เศรษฐกิจสังคมไทยหลัง 2490การเมืองไทยกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย การเมืองไทยกับการขยายตัวของชนชั้นกลาง เศรษฐกิจไทยในสังคมร่วมสมัย

6 หมวดดุษฎีนิพนธ์

Course codes : 26989965
Credit : 36(0-0-108)
ดุษฎีนิพนธ์

การกำหนดสิ่งที่ต้องการวิจัย การทบทวน การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์วรรณกรรม การประเมินความน่าเชื่อถือของวรรณกรรมที่ทบทวน การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย การกำหนดวิธี การวิจัย การเสนอเค้าโครงการวิจัย การดำเนินการวิจัย การประมวลผลและการวิเคราะห์ผล การสังเคราะห์ผล การวิจารณ์ผล การอ้างอิงผลงานของผู้อื่นและการเขียนเอกสารอ้างอิงตามระบบสากล การเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การเขียนรายงานการวิจัยเพื่อเผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ การเขียนบทคัดย่อ การเสนอรายงานการวิจัยด้วยปากเปล่า จริยธรรมการวิจัยและจรรยาบรรณนักวิจัย จริยธรรมในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ